วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สื่อโฆษณากับการบริโภค
คณะผู้จัดทำบล็อก
                                1. นายจอมพล       ละมูนกิจ               เลขที่ 11
                                2. นายทิวากร        ศรีสุพพัตพงษ์        เลขที่ 13
                                3. นายปวีร์            หลายเจริญโชคชัย  เลขที่ 15
                                4. นายภานุวิทย์     ประเสริฐวชิรากุล   เลขที่ 22
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2
 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 ความหมายของสื่อโฆษณา
            สื่อโฆษณา หมายถึง สื่อที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆโดยผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร นิตยสาร แผ่นพับ รวมทั้งการโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งสื่อในลักษณะอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภครับรูข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพเพื่อกระตุ้นจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อหรือใช้สินค้าหรือบริการนั้น
  ความสำคัญของสื่อโฆษณา
            สื่อโฆษณานับว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในการที่จะพิจารณาเลือกซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือใช้บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ผู้บริโภคมักจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากสื่อโฆษณา ดังนั้นข้อความเชิญชวนตามสื่อโฆษณารูปแบบที่หลากหลาย จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ และใช้บริการสุขภาพนั้นๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาสื่อโฆษณาให้ละเอียดรอบคอบว่ามีการให้ข้อมูลที่เป็นจริงหรือมีโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงหรือไม่ เนื่องจากหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบ เชื่อถือข้อความบนสื่อโฆษณาโดยปราศจากการไตร่ตรอง ประกอบกับใช้ความต้องการ ความอยากได้และความปรารถนาของจิตใจเป็นตัวนำทางในการเลือกสินค้ามากกว่าความสมเหตุสมผลจะทำให้ได้รับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการสุขภาพที่ไม่สมประโยชน์ และอาจเกิดผลเสียหาย มีอันตรายต่อรางกายและจิตใจของผู้บริโภคได้
ประเภท สื่อโฆษณา
1.การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2.การโฆษณาผ่านหนังสื่อพิมพ์
3.โฆษณาโดยป้ายประกาศ
4.โฆษณาโดยใช้จดหมายตรง
5.โฆษณาโดยใช้สมุดโทรศัพท์
6.จัดแสดงสินค้า

อิทธิพลของสื่อโฆษณา
การโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อ ขายสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด คุณภาพที่กำหนด  ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อกับคำโฆษณาโดยง่าย  ควรวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลจากสื่อโฆษณาสินค้าให้รอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทุกครั้ง  สื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือใช้บริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมากเพราะจากผลการวิจัยหรือผลการสำรวจข้อมูลในเรื่อองดังกล่าวในหลายๆสถาบันได้ข้อมูลที่ตรงกันว่า “ อิทธิพลของสื่อโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทุกๆกลุ่มคน  ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษา อาชีพและรายได้  โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าของเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชาย ”
สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสำคัญ  ดังนี้
1.สร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่ต้องให้ผู้บริโภคต้องการทราบ  เพราะเมื่อสื่อโฆษณาใดให้ข้อมูลของสินค้าได้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วย่อมให้เกิดแรงจูงใจการซื้อสินค้าง่าย
2.สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการอยากทดลองใช้  เช่น  การโฆษณาโดยใช้กลยุทธ์การลดแลก แจก หรือแถม  จากที่ผู้บริโภคไม่เคยทดลองใช้  เพราะสินค้าดังกล่าวนั้นมีราคาถูกหรือเป็นของแถมที่ได้มาฟรี
3.สร้างความภูมิใจในสินค้าและบริการ  โฆษณาของผู้ผลิตมักนำบุคคลสำคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมมาเป็นแบบในโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อได้ใช้สินค้าและบริการชนิดเดียวกับที่บุคคลสำคัญใช้
4.สร้างความตอกย้ำความทรงจำของผู้บริโภค  ทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง  ซึ่งการโฆษณาบ่อยๆครั้งทำให้ผู้บริโภคที่เคยใช้สินค้าของตนเองแล้วได้กลับมาซื้อสินค้านั้นอีกรอบ
5.สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ  โดยโฆษณาจะชี้แจงให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจว่า เมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลดี  เกิดความสวยงามเกิดความสะดวกสบาย  หรือแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร

อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ
       1. ด้านสุขภาพร่างกาย
            ผลของการเลือกรับสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพทางกาย จากการที่ผู้ผลิตได้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันโดยมีการทำให้สินค้าของตนที่ผลิตออกมามีคุณภาพและราคาถูก ย่อมเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในการเลือกพิจารณาได้หลากหลาย และสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ ซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ เมื่อมีการบริโภคแล้วโอกาสที่จะเกิดความพอใจมีสูง เนื่องจากได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่ถ้าสินค้าบางชนิดมีให้เลือกน้อย ในขณะที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องกินและใช้มาก จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสามารถเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย โดยการผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพมาขาย ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพทางการ เช่น ดื่มนมแล้วเกิดอาการท้องเสีย ผงซักฟอกบางยี่ห้อ ซักแล้วเกิดการแพ้อย่างรุนแรง ดังนั้นสื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลให้คนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริโภคโดยตรง

        
    2. ด้านสุขภาพจิต
            ผลของการเลือกรับสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพจิต คือ ความรู้สึกพึงพอใจและความไม่พึงพอใจในการบริโภคสินค้าและบริการเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ มีผลอย่างยิ่งต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภค เช่น มีการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มีคุณสมบัติเป็นจริงตามคำโฆษณาย่อมส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ส่วนสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคเลือกใช้มีคุณภาพไม่เป็นจริงตามที่ผู้ผลิตโฆษณา ส่งผลเสียหายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ย่อมทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในสินค้าและบริการต่างๆ นอกจากนี้ การซื้อสินค้าหรือบริการสุขภาพบางชนิดอาจมีราคาสูง เมื่อได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวลหรือเสียใจกับการตัดสินใจที่ผ่านมาได้ ดังนั้นสื่อโฆษณาจึงส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภคโดยตรง


3. ด้านสุขภาพสังคม
สื่อที่มีความสร้างสรรค์จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่พึงประสงค์ ในขณะที่สื่อที่นำเสนอพฤติกรรมสุขภาพที่ไมเหมาะสม แต่พยายามนำเสนอว่าเป็นค่านิยมของสังคมที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การโฆษณาอาหารประเภทจานด่วน ซึ่งเป็นอาหารที่มีการแข่งขันในการโฆษณาที่สูงมากทั้งที่อาหารเหล่านี้มีปริมาณแคลอรีสูงและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณต่ำ เด็กหรือเยาวชนที่รับประทานอาหารเหล่านี้มากๆ จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคมะเร็งบางชนิดในช่วงชีวิตต่อไป ทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขของบุคคลในสังคมต่อไป
4. ด้านสุขภาพปัญญา
สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อสุขภาพทางปัญญา เพราะมีสื่อโฆษณาจำนวนมากที่ใช้กลวิธีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จูงใจผู้บริโภคให้มีความต้องการสินค้า ส่งเสริมค้านิยมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นวัตถุนิยมแทนที่จะเป็นการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เน้นการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ด้วนความมีเหตุผล ความรู้จักพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เช่น การที่เราจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งเราจะต้องตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลที่เหมะสมว่าสมควรซื้อหรือไม่ ดังบทกลอนของสุนทรภู่ที่ว่า ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทังคาวหวานความรู้จักพอประมาณคือซื้อในจำนวนเท่าที่จำเป็น ในราคาที่เหมาะสม การมี๓มิคุ้มกันคือ การมีสติสัมปชัญญะก่อนการตัดสินใจซื้อ ไม่หลงใหลหรือตกเป็นเหยื่อของคำโฆษณา หรือสิ่งจูงใจใดๆ ที่ผู้จำหน่ายนำมาส่งเริมการขาย เช่น ของแถม การใช้ชิ้นส่วนชิงรางวัล เป็นต้น เพราะจะทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้านั้นด้วยความต้องการทางจิตวิทยามากกว่าเป็นการตัดสินใจซื้อโดยใช้เหตุผลและปัญญา

หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเพื่อการเลือกบริโภค
            เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการรับข้อมูลจากสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง  ควรยึดหลักพิจารณาข้อความโฆษณาสินค้าและบริการทุกประเภท  ว่าต้องมีลักษณะสอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา พ.ศ. 2552 มาตรา 22 ดังนี้ คือ  การโฆษณาจะต้องไม่มีข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวม  ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด  สภาพคุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ  ตลอดจนการส่งมอบ  การจัดหา  หรือการใช้สินค้าหรือบริการ
เราจึงควรทราบหลักการพิจารณาเพื่อการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพดังนี้
1. ฝึกแยกแยะสื่อทางบวกและทางลบ
สื่อทางบวก คือ สื่อที่มีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การทำงานด้วนความสามัคคี เป็นต้น สื่อทางลบ คือสื่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ กระตุ้นให้มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนักเรียนจึงต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ และใช้เหตุผลว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสื่อทางบวกหรือทางลบ และเราควรเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอโดยสื่อนั้นหรือไม่
2. คำนึงถึงความเป็นจริง
ผู้บริโภคสื่อควรมีทักษะในการเลือกสื่อโฆษณาโดยการพิจารณาด้วยความเป็นเหตุเป็นผล และความเป็นไปได้โดยอู่บนพื้นฐานของความจริงและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่หลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ข้อความเกินความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น โรลออนนี้ใช้แล้วสวาๆ กรี๊ดเพราะความหอมของกลิ่นกาย ใช้ครีบยี่ห้อนี้ผิวขาวสวยภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะข้อความดังกล่าวมีความเป็นไปได้ต่ำ
3. มีความไวในการรับสื่อ
ผู้บริโภคควรมีพฤติกรรมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทันเหตุการณ์ทั้งในและนอกประเทศ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในการโฆษณาโดยไม่ไปเชื่อสื่อโฆษณา หลงใหลไปกับสื่อทางลบซึ่งเป็นสื่อที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นการบั่นทอนสุขภาพ
4. ไม่หลงเชื่อง่าย
ข่าวสารบางเรื่องมีผลต่อสุขภาพโดยตรง ควรมีการพิจารณาให้ดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกันจึงตัดสินใจเชื่อ นักเรียนควรฝึกทักษะโดยการฝึกวิเคราะห์แยกแยะสื่อทางบวกและทางลบการคำนึงถึงความเป็นจริง มีความไวในการรับสื่อและไม่หลงเชื่อง่ายๆ ทักษะต่างๆ นี้จะช่วยให้นักเรียนปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงและเป็นเหยื่อของสื่อโฆษณาที่ไม่สร้างสรรค์ได้